ด้านทรัพยากรธรรมชาติ  |
|
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
1.6.1 ทรัพยากรดิน
ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเกษตร โดยการเพาะปลูกยางพารา เงาะ
1.6.2 ทรัพยากรน้ำ
ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีลำน้ำไหลผ่านชื่อ “คลองลำพูน” ซึ่งเทศบาลได้นำน้ำดิบมาเพื่อผลิตน้ำประปา บริการแจกจ่ายให้ประชาชน ในเขตเทศบาลประมาณ 1,146 หลังคาเรือน
1.6.3 สภาพสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและเป็นที่สนใจในทุกระดับ
เพราะ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา การดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในเขตเมือง จะประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจาการเจริญเติบโตของเมือง เช่น ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้ำเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศ เทศบาลตำบลบ้านนาเป็นพื้นที่ในเขตเมืองที่มีลัดกษณะพิเศษกว่าเขตเมืองอื่น ๆ คือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พาณิชย์ ดังนั้น จึงมีผลกระทบจากขยะมูลฝอย น้ำเสีย จึงมีโอกาสที่เกิดผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ
แต่ เนื่องจากมีการขยายตัวของเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง เทศบาลตำบลบ้านนา จึงมีแนวโน้มประสบกับปัญหาขยะมูลฝอยที่มีปริมาณ 4.00 ตัน/วัน และเนื่องจากเทศบาลมีศักยภาพในการเก็บ – ขนขยะ จึงแทบจะไม่มีปริมาณขยะตกค้าง แต่เทศบาลตำบลบ้านนาจะประสบกับปัญหาไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ จึงจำเป็นต้องนำไปทิ้งบริเวณทางไฟ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา และจะทำการฝังกลบเป็นครั้งคราว |
|
|
|
|
|
|
|
ด้านการเมือง การบริหาร  |
|
ด้านการเมือง การบริหาร
1.5.1 การเมือง
ราษฎรส่วนใหญ่มีความตื่นตัวทางการเมืองพอสมควร และมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยใช้สิทธิเลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้นำท้องถิ่น
1.5.2 การบริหาร
องค์กร ทางการเมือง – การบริหารของเทศบาลตำบลบ้านนา ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน ทำหน้าที่นิติบัญญัติ มีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง รอง นายกเทศมนตรี 2 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน ทำหน้าที่บริหาร และพนักงานเทศบาล ซึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติงานประจำภายในส่วนราชการของเทศบาล ตามที่ ก.ท.กำหนด
เทศบาลตำบลบ้านนา แบ่งหน่วยงานภายในส่วนราชการตามที่ ประกาศโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของเทศบาล เป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้
1.สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานการเจ้าหน้าที่ งานทะเบียนราษฎร งานแผนและงบประมาณ งานนิติการ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานการศึกษา และงานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง
2.กองคลัง มีหน้าที่ควบคุมดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในการพัฒนารายได้ งานผลประโยชน์ งานเร่งรัดรายได้ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและทรัพย์สิน งานสถิติการคลัง งานแผนที่ภาษี งานทะเบียนทรัพย์สิน
3. กองช่าง มีหน้าที่ควบคุมดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงาน วิศวกรรม งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ
4.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ควบคุมดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานแผนงานสาธารณสุข งานสุขาภิบาล อนามัยและสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด
5.กองการประปา มีหน้าที่ควบคุมดูแล การจำหน่ายและผลิตน้ำประปา ซ่อมบำรุง อุปกรณ์ประปา งานเร่งรัดรายได้ งานการเงิน งานพัสดุและทรัพย์สิน |
|
|
|
|
|
|
|
ด้านสังคม  |
|
ด้านสังคม
1.4.1 ประชากร ณ วันที่ 30 เมษายน 2553
เทศบาลตำบลบ้านนา มีประชากรรวม 3,058 คน
- ชาย 1,472 คน
- หญิง 1,528 คน
- จำนวนครัวเรือน 1,262 ครัวเรือน
ที่มา : งานทะเบียนราษฎร เทศบาลตำบลบ้านนา (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2551)
1.4.2 ชุมชน
เทศบาลตำบลบ้านนา มี 4 ชุมชน จำนวนบ้าน 1,262 หลังคาเรือน จำนวนประชากรในชุมชน 3,058 คน
1.4.3 การศึกษา ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม
- การศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนรัฐบาล 2 โรง
โรงเรียนอนุบาลเอกชน 1 โรง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลฯ 1 แห่ง
- ศาสนาและวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดอยู่ในเขตเทศบาลฯ 1 แห่ง
- ศิลปวัฒนธรรม มีประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ และประเพณีลอยกระทง
1.4.4 การสาธารณสุข
ใน เขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีโรงพยาบาล 1 แห่ง จำนวน 30 เตียง คลีนิค 1 แห่ง ร้านเภสัชกร 1 แห่ง ไม่มีโรคระบาด ประชาชนมีและใช้ส้วมทุกหลังคาเรือน ใช้น้ำจากการประปาเทศบาลตำบลบ้านนา และการใช้น้ำจากการขุดบ่อบาดาล สำหรับการอุปโภคบริโภค การกำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลฯ ได้นำถังสำหรับรองรับขยะไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในเขตเทศบาลฯ และบริเวณรอบนอกเทศบาลฯ โดยจะมีรถสำหรับจัดเก็บขยะออกไปเก็บเป็นประจำทุกวันและได้นำไปกำจัดโดยนำไป ฝังกลบ สำหรับที่ทิ้งขยะอยู่ห่างจากเทศบาลฯ ประมาณ 8 กม.
1.4.5 การสังคมสงเคราะห์
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ราษฎรมีฐานะปานกลาง ในเรื่องการสังคมสงเคราะห์ของเทศบาลตำบลบ้านนา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเทศบาลได้ตั้งงบประมาณสมทบ เดือนละ 500 บาท สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 182 คน และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่รัฐบาลจัดสรรสำหรับผู้สูงอายุหกสิบปีขึ้นไปทุกคน คนละ 500 บาท อีก 249 คน คนพิการ 25 และผู้ป่วยเอดส์ 1 คน และในกรณีที่มีภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดขึ้นอื่นๆ เทศบาลฯ ได้ตั้งงบประมาณ เข้าช่วยเหลืออย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพโดยตลอด
1.4.6 ชุมชนและการเคหะ
ใน เขตเทศบาลตำบลบ้านนา ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนเป็นลักษณะของที่อยู่อาศัย รวม เพื่ออยู่อาศัยและประกอบการค้า เริ่มจะมีการสร้างบ้านจัดสรรและอาคารอื่น ๆ จึงทำให้การดำเนินการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มมีปัญหา และเพิ่มความต้องการการพัฒนาอย่างมากในเรื่องนี้ เทศบาลได้เตรียมแผนงานรองรับไว้ในอนาคตแล้ว และยังได้เน้นหนักเกี่ยวกับความสะอาดอย่างจริงจัง
1.4.7 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เนื่องจากเทศบาลตำบลบ้านนา มีพื้นที่เพียง 4.08 ตารางกิโลเมตร มีราษฎรอาศัยไม่หนาแน่นนัก การรักษาความสงบได้รับความร่วมมือจากทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านนาเดิม ซึ่งมีอัตรากำลังมากพอสมควร โดยมีสายตรวจตลอดเวลาประกอบกับราษฎรเป็นคนใน พื้นที่ มีคนต่างพื้นที่เข้ามาอาศัยน้อย จึงทำให้ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีน้อย และในส่วนของเทศบาลฯ ได้เตรียมพร้อมและเร่งรัดเจ้าหน้าที่ของเทศบาล ได้แก่ การป้องกันอัคคีภัยฯ โดยมีความพร้อมในด้านเครื่องมือเครื่องใช้ และเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่งโมง
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้านเศรษฐกิจ  |
|
ด้านเศรษฐกิจ
1.3.1 การเกษตรกรรม
ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา จะมีการทำสวนยางพารา ทุเรียน เงาะ มังคุด กระท้อน ประมาณ 30%
1.3.2 การอุตสาหกรม
ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คงมีเพียงการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทำขนมเพื่อจำหน่าย ประมาณ 20%
1.3.3 การพาณิชย์
ใน เขตเทศบาลตำบลบ้านนา ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบการด้านพาณิชย์ ประชาชนซื้อขายสินค้าอุปโภค บริโภค ทั่วไป มีปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง มีร้านค้าประมาณ 100 ร้าน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหากรณ์ ธนาคารนครหลวง ธนาคารออมสิน (เฉพาะวันพฤหัสบดี) ประมาณ 50%
1.3.4 การเกษตร 30%
1.3.6 รับจ้าง ประมาณ 5%
1.3.6 รับราชการ ประมาณ 10%
1.3.7 อื่น ๆ ประมาณ 5%
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  |
|
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ทรัพยากรดิน
ใน เขตเทศบาลตำบลบ้านนา เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเกษตร โดยการเพาะปลูกยางพารา เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง และกระท้อน
1.2.2 ทรัพยากรน้ำ
ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีลำน้ำไหลผ่านชื่อ “คลองลำพูน” ซึ่งเทศบาลได้นำน้ำดิบมาเพื่อผลิตน้ำประปา บริการแจกจ่ายให้ประชาชน ในเขตเทศบาลประมาณ 1,146 หลังคาเรือน
1.2.3 สภาพสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและเป็นที่สนใจในทุกระดับ
เพราะ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยา การดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในเขตเมือง จะประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จาการเจริญเติบโตของเมือง เช่น ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้ำเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศ เทศบาลตำบลบ้านนาเป็นพื้นที่ในเขตเมืองที่มีลักษณะพิเศษกว่าเขตเมืองอื่นๆ คือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พาณิชย์ ดังนั้น จึงมีผลกระทบจากขยะมูลฝอย น้ำเสีย มีโอกาสผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ
แต่เนื่องจากมีการขยายตัวของเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง เทศบาลตำบลบ้านนา จึงมีแนวโน้มประสบกับปัญหาขยะมูลฝอยที่มีปริมาณ 4 ตัน/วัน และเนื่องจากเทศบาลมีศักยภาพในการเก็บขนขยะ จึงแทบจะไม่มีปริมาณขยะ ตกค้าง แต่เทศบาลตำบลบ้านนาจะประสบกับปัญหาไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ จึงจำเป็นต้องนำไปทิ้งบริเวณทางไฟ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา และจะทำการฝังกลบเป็นครั้งคราว
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  |
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1.1 การคมนาคม
เทศบาล ตำบลบ้านนา มีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งทั้งภายในเขตเทศบาล ตำบลใกล้เคียง ตลอดจนอำเภอต่าง ๆ โดยทางรถยนต์และรถไฟ กล่าวคือ
ทางรถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4178 ภายในเขตเทศบาล บรรจบทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4009 ไปอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอบ้านนาสาร และบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ไปอำเภอพุนพิน และจังหวัดชุมพร ไปอำเภอเวียงสระ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทางรถไฟ ในเขตเทศบาลมีรถไฟผ่าน และมีสถานีรับ ส่งผู้โดยสาร 1 สถานี
1.1.2 การไฟฟ้า
เทศบาล ตำบลบ้านนา มีพื้นที่ 4.08 ตารางกิโลเมตร ประชากรตั้งบ้านเรือนทั่วทั้งเทศบาล โดยราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน ในทุก ๆ ปี เทศบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณส่วนหนึ่งอุดหนุนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอบ้านนาสาร ในการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ
1.1.3 การประปา
การผลิตน้ำประปาในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา เทศบาลเป็นผู้ดำเนินการเอง มีแหล่งน้ำดิบจากคลองลำพูน ซึ่งปัจจุบันได้เกิดปัญหามีน้ำไม่เพียงพอในการผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชน ได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากน้ำแห้งในฤดูแล้ง เทศบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำมาใช้ผลิต น้ำประปา เพื่อบริการแก่ประชาชนทั้งในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงให้สามารถใช้น้ำ ได้ตลอดทั้งปี
1.1.4 การโทรคมนาคม
เทศบาล ตำบลบ้านนา มีบริการด้านสื่อสารคมนาคม ในเขตพื้นที่ 1 หน่วยงาน คือ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข อำเภอบ้านนาเดิม ให้บริการด้านรับ–ส่งจดหมาย พัสดุภัณฑ์
1.1.5 การจราจร
การจราจรในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีความหนาแน่น เนื่องจากถนนสาย 4178 ซึ่งเป็นถนนสายหลักในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา เป็นเส้นทางผ่านไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เทศบาลฯ ประสบปัญหาด้านถนนคับแคบ และรถบรรทุกหนักวิ่ง ทำให้ถนนสายนี้ชำรุดอยู่บ่อย ๆ
1.1.6 การใช้ที่ดิน
เทศบาล ตำบลบ้านนา มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4.08 ตารางกิโลเมตร จำแนกประเภทการใช้ที่ดินออกเป็น เขตที่อยู่อาศัย เขตพาณิชกรรม สถานศึกษา และเขตเกษตรกรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. บริเวณศูนย์กลางชุมชน ได้แก่ บริเวณตลาดบ้านนา พื้นที่บางส่วนจะเป็นที่ราชพัสดุเป็นศูนย์รวมของสถานที่ราชการ สถาน ศึกษา และอาคารร้านค้า ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาล
2. พื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่ สวนไม้ผลต่าง ๆ สวนยางพารา ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ได้แก่ ชุมชนบ้านเหนือ ชุมชนบ้านน้ำเกลี้ยง
|
|
|
|
|
|
|
|